เวลาเราชมภาพยนตร์แต่ละเรื่องก็จะมีชื่อของค่ายภาพยนตร์ปรากฏให้เราได้เห็นกันตลอด เช่น Dream works – เด็กผู้ชายนั่งบนดวงจันทร์, Metro-Goldwyn-Mayer (MGM) – สิงโตคำราม (แหมะอย่างกับทีมฟุตบอล), Paramount – ภูเขา 22 ดาว เป็นต้น แล้วเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมต้องเป็นรูปนี้ ที่มาสของรูปเหล่านั้นมาจากไหน วันนี้ทีนเอ็มไทยจะพาเพื่อนๆ ไปดูเกร็ดความรู้ น่าสนใจนี้กันคะ ^^ 6 ที่มาของโลโก้ค่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ
6 ที่มาของโลโก้ค่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ
1. DreamWorks – Boy on the Moon DreamWorks SKG
ในปี 1994 ที่ก่อตั้งโดยสามเจ้าพ่อแห่งฮอลลีวูด สตีเว่น สปีลเบิร์ก(teven Spielberg), เจฟฟรี่ย์ แคตเซนเบิร์ก (Jeffrey Katzenberg – ประธานของ Disney studio) และ เดวิด เกฟเฟ่น (David Geffen เจ้าของ Geffen records) ได้ร่วมกันเปิดสตูดิโอใหม่ชื่อ DreamWorks (ใต้ชื่อ DreamWorks มีอักษรตัวแรกของชื่อทั้งสามอยู่ด้วย SKG) สตูดิโอติดอยู่ในชื่อ 100 บริษัทที่ดีที่สุดที่ทำงานด้วยของนิตยสารฟอร์จูน โดยอยู่ในอันดับ 47
โดยตอนที่คิดไอเดียโลโก้ของสตูดิโอ สปีลเบิร์กต้องการให้โลโก้มีกลิ่นอายของฮอลลีวูดยุคทอง แบบแรกที่คิดไว้คือผู้ชายตกปลาอยู่บนพระจันทร์เต็มดวง โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคสร้าง แต่ เดนนิส มูเรน จาก ILM ที่ร่วมงานกับสปีลเบิร์กมานาน เห็นว่าถ้าอยากให้ดูคลาสสิค ควรจะใช้ดินสอวาดมากกว่า หน้าที่นี้จึงตกเป็นของนักวาดภาพชื่อดัง โรเบิร์ต ฮันท์
เขาได้ดัดแปลงโลโก้ดั้งเดิมเสียใหม่ ให้พระจันทร์เหลือเพียงเสี้ยวเดียว แล้วก็เปลี่ยนจากผู้ชายมาเป็นเด็กชายคนหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล แต่เป็น วิลเลี่ยม ฮันท์ ลูกชายของเขานั่นเอง สปีลเบิร์กชื่นชอบโลโก้ฝีมือของฮันท์มากกว่าของเดิม จึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตูดิโอดรีมเวิร์คอย่างที่เห็น
DreamWorks Animation SKG, Inc. เป็นสตูดิโอแอนิเมชันสัญชาติอเมริกัน ที่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องจากการผลิตภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน อย่างเรื่อง Shrek, Shark Tale, Madagascar, Over the Hedge,Bee Movie, Kung Fu Panda, Monsters vs. Aliens, และ How to Train Your Dragon
2. Metro-Goldwyn-Mayer (MGM) – Leo the Lion
ลีโอเดอะไลออน (Leo the Lion) เป็นตัวนำโชคของสตูดิโอภาพยนตร์ฮอลลีวูด ซึ่งมีชื่อว่า เมโทร-โกลวิน-เมเยอร์ (Metro-Goldwyn-Mayer) เป็นที่รู้จักในฐานะสัญลักษณ์ที่โดดเด่นประจำสตูดิโอ สร้างสรรค์โดยผู้กำกับฝ่ายศิลป์ประจำพาราเมาต์พิกเจอส์ซึ่งมีชื่อว่า ลีโอเนียล เอส.ไลส์
สัญลักษณ์สิงโตคำรามถูกออกแบบเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1916 โดยเป็นของบริษัท Goldwyn Pictures ต่อมาในปี 1924 ได้รวมบริษัทเข้ากับ Metro Pictures และ Mayer Pictures กลายเป็นสตูดิโอ Metro-Goldwyn-Mayer หรือ MGM และยังใช้โลโก้สิงโตคำรามเช่นเดิม สิงโตที่เป็นนายแบบในโลโก้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เคยใช้มาแล้วทั้งหมด 5 ตัว
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีสิงโตทั้งหมด 5 ตัวที่รับบทเป็น “Leo The Lion”
1. สิงโตตัวแรกคือ Slats (สแลทส์) เป็นสิงโตตัวแรกที่ถูกมาใช้ในสตูดิโอโฉมใหม่ มันเกิดที่สวนสัตว์ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ สแลทส์ได้รับเลือกมาใช้ในภาพยนตร์ขาว-ดำทุกเรื่องในช่วงระหว่างปี 1924 – 1928 เป็นสิงโตที่ไม่มีใครเคยได้ยินเสียง เพราะเป็นยุคหนังเงียบ โดยโลโก้ต้นตำรับนี้ได้รับการออกแบบโดยโฮเวิร์ด ไดเอทส์ นอกจากนี้เขายังบอกไว้ว่า เขาได้ตัดสินใจนำสิงโตมาเป็นตัวนำโชคของสตูดิโอในฐานะเป็นของบรรณาการมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งมีทีมนักกีฬาที่มีชื่อเล่นอันเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ เดอะไลออนส์ เขายังได้เพิ่มแรงบันดาลใจถึงการสร้างเสียงคำรามของสิงโตซึ่งได้มาจากเพลงปลุกใจสู้ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่มีชื่อว่า “Roar, Lion, Roar”
2. สิงโตตัวที่ 2 Jackie แจ๊คกี้เจ้าของเสียงคำรามแรกที่ได้ยินโดยผู้ชม ถึงแม้ว่าตัวหนังยังจะเป็นหนังเงียบก็ตาม โดยที่เสียงคำรามจะถูกเล่นผ่านแผ่นเสียงแบบ phonograph ในขณะที่โลโก้กำลังถูกแสดง นอกจากนี้ Jackie ก็เป็นสิงโตตัวแรกที่ถูกฉายผ่านหนังแบบมีสีในปี 1932
3. สิงโตตัวที่ 3 ผู้ซึ่งโด่งดังที่สุดคือ Tanner (แทนเนอร์) เป็นตัวแรกที่ใช้ในยุคหนังสี แทนเนอร์ถูกนำมาใช้เป็นโลโก้ในภาพยนตร์ของเทคนิคัลเลอร์และการ์ตูนเอ็มจีเอ็มทั้งหมด (เช่นการ์ตูนซีรีส์ทอมกับเจอร์รี่) และใช้เป็นโลโก้ของสตูดิโอมาเป็นระยะเวลา 22 ปี ส่วนลีโอถูกนำมาใช้เป็นโลโก้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 นับเป็นระยะเวลา 53 ปี
4. สิงโตตัวที่ 4 เป็นตัวคั่นเวลา(น่าสงสาร>,<) เนื่องจากไม่มีชื่อ และใช้อยู่เพียง 2 ปี (1956 – 1958)
5. leo ลีโอสิงโตตัวที่ 5 มาตั้งแต่ปี 1958 จนถึงปัจจุบัน
3. 20th Century Fox (The Searchlight Logo 20th Century Fox)
หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า Fox ก่อตั้งโดย โจเซฟ เชนก์ ,เรย์มอนด์ กริฟฟิธ และ วิลเลียม โกเอตซ์ เมื่อ ค.ศ. 1935 เป็นการรวมตัวของ Twentieth Century Pictures และ Fox Film Company กลายเป็น Twentieth Century-Fox Film Corporation
เดิมโลโก้นี้เป็นของ Twentieth Century Pictures ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 1933 โดยศิลปินผู้มีชื่อเสียง เอมิล โคซ่า (Emil Kosa) และหลังจากการยุบรวมกันของทั้ง 2 ค่าย โคซ่าก็เล่นง่ายๆ ด้วยการใส่คำว่า Fox เข้าไปแทนที่คำว่า Pictures,Inc. (ฐาน 20th Century)
นอกจากนี้โคซ่า ยังโด่งดังจากการออกแบบภาพซากเทพีเสรีภาพใน Planet of the Apes ฉบับปี 1968 ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์จริงๆ ของโลโก้นี้ก็คือดนตรีประกอบ 20th Century Fanfare โดยฝีมือของ อัลเฟรด นิวแมน คอมโพเซอร์ในตำนานของฮอลลีวูด บริษัทและสตูดิโอ ตั้งอยู่ในเซ็นจูรี่ซิตี้ ของลอสแอนเจลิส ทางตะวันตกของเบเวอร์ลี ฮิลส์ ซึ่งมีภาพยนตร์สร้างชื่อมากมาย เช่น Titanic, Star Wars, Home Alone, Die Hard, X-Men รวมถึงภาพยนตร์ตระกูล Alien และ Predator เป็นต้น
4. Paramount (The Majestic Mountain Paramount Pictures)
ถือเป็นสตูดิโออเมริกันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และยังคงเป็นสตูดิโอหลักที่ยังมีฐานอยู่ในฮอลลีวูด พาราเมาต์เป็นสตูดิโอที่มีภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูง ๆ สตูดิโอหนึ่ง ภายใต้เจ้าของคนล่าสุด เวียคอม/ไวอาคอม (Viacom Inc. เป็นบริษัทสื่อมวลชนสัญชาติอเมริกัน ดำเนินงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับ ภาพยนตร์และเคเบิลโทรทัศน์ และอื่น ๆ ถือเป็นเครือบริษัทประเภทสื่อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากเดอะวอลต์ดิสนีย์ไทม์วอร์เนอร์ และนิวส์คอร์ปอเรชัน)
Paramount Pictures Corporation ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1912 โดย Adolph Zukor และสองพี่น้อง Frohman ( Daniel และ Charles ) ซึ่งชื่อ “พาราเมาท์” นั้นได้มาจากชื่ออพาร์ทเมนต์แห่งหนึ่งในฮอลลีวูด
ส่วนภาพโลโก้เทือกเขานี้ถูกร่างขึ้นครั้งแรกโดย W.W. Hodkinson (วิลเลี่ยม วอดสเวิร์ธ ฮอดกินสัน )โดยมีภูเขาเบน โลมอนด์ ในรัฐยูท่าห์เป็นต้นแบบ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา โลโก้ของพาราเมาท์เคยเปลี่ยนมาแล้วถึง 7 เวอร์ชั่น นับเป็นโลโก้ที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาสตูดิโอที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน (ใน Hollywood ) สำหรับเวอร์ชั่นปัจจุบันนั้นเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2002 โดยเปลี่ยนภูเขาต้นแบบเป็นภูเขาอาร์เตซอนราจู ในประเทศเปรูแทน โลโก้นี้เป็นโลโก้ที่มีอายุยาวนานที่สุดของ Hollywood
5. Warner Bros. (The WB Shield Warner Bros.)
สตูดิโอวอร์เนอร์ บราเธอร์ส ก่อตั้งโดยสี่พี่น้องชาวยิวตระกูล วอนสโกลาเซอร์ ได้แก่ แฮร์รี่, อัลเบิร์ต, แซม และ แจ็ค ก่อนจะเปลี่ยนนามสกุลเป็น วอร์เนอร์ สำหรับวอร์เนอร์ บราเธอร์สนั้นเป็นสตูดิโอแรกๆ ที่เริ่มสร้างหนังมีเสียง (หนึ่งในนั้นคือ The Jazz Singer) ทั้งที่แฮร์รี่พี่ใหญ่ของตระกูลเคยพูดไว้ว่า “ใครจะไปอยากฟังเสียงนักแสดงพูดกันล่ะ”
เอกลักษณ์ของโลโก้วอร์เนอร์ก็คือสัญลักษณ์รูปโล่ และมีตัวอักษร WB อยู่ข้างในมาตั้งแต่แรก แต่มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วถึง 11 เวอร์ชั่น โดยเวอร์ชั่นปัจจุบันนั้นเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1993 เป็นการย้อนกลับไปใช้รูปแบบโลโก้ที่สตูดิโอเคยใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มีการพัฒนากราฟฟิคให้ทันสมัยขึ้น
6. Columbia Pictures – The Torch Lady Columbia Pictures
สตูดิโอโคลัมเบีย นั้นถือกำเนิดครั้งแรกตั้งแต่ปี 1919 โดยพี่น้อง แฮร์รี่ และ แจ็ค คอห์น ภายใต้ชื่อ Cohn-Brandt-Cohn เป็นบริษัทที่สร้างแต่หนังทุนต่ำ จากนั้นก็พัฒนาเป็นโคลัมเบีย พิคเจอร์ในปี 1924 พร้อมเปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็น “เทพีคบเพลิง” โดยมีต้นแบบมาจาก เซเรเน่ เทพีแห่งดวงจันทร์ในเทพนิยายกรีก เหมือนกับต้นแบบของเทพีเสรีภาพ จากนั้นโลโก้เทพีคบเพลิงก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ โดยมีหญิงสาวที่เป็นต้นแบบมาแล้วหลายคน จนกระทั่งในเวอร์ชั่นปัจจุบันที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1993 นั้นออกแบบโดย ไมเคิล เจ.ดิแอส ครั้งแรกที่โลโก้ถูกใช้ในหนัง มีข่าวลือว่าต้นแบบคือ แอนเน็ต เบนนิ่ง เพราะหน้าตาคล้ายกันเหลือเกิน แต่ความจริงแล้วต้นแบบคือ เจนนี่ โจเซฟ สาวแม่บ้านธรรมดาคนหนึ่งที่ดิแอสเลือกมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น